วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552

เราควรช้าลงบ้างนะครับ...=blog TV=


เช้าของวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนา ๕๒ อากาศสดชื่นเย็บสบาย จากฝนตกตอนบ่ายเย็นเมื่อวานนี้...
ตั้งใจจะกวาดใบไม้ ...เหลือบเห็นสิ่งมีชีวิต...กำลังคืบคลาน แล้วมองย้อนดูตัวตน เราเร็วไปหรือเปล่า...


หอยทาก สัตว์โบราณขนาดเล็กที่มีกำเนิดมาเป็นเส้นทางกึ่งกลางให้เกิดวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับสูงกว่าเกิดขึ้นได้ ในเวลาเดียวกันจำนวนที่มีหลากหลาย ในถิ่นอาศัยแทบทุกประเภท ทำให้มีบทบาทในระบบนิเวศใกล้เคียงกับแมลงทั้งหลาย เนื่องจากการเคลื่อนที่ที่ช้ากว่าแมลง ทำให้การถ่ายทอดพันธุกรรมมีรูปแบบเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะหอยที่อยู่ตามเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน และทะเลก็เป็นกำแพงธรรมชาติที่ขวางกั้นการแพร่กระจาย ดังนั้นเรื่องราวหลายอย่างของวิวัฒนาการในอดีต อาจไขความลับได้จากหอยทากี่ติดอยู่บนเกาะนั่นเอง
ก้าวไปช้าๆ แต่ยั่งยืน

หอยทาก สัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา เกิดหลังจากแมลงสาบโบราณเพียงเล็กน้อย หอยทากเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งอดีตราวศตวรรษที่ 15 คนยุโรปรู้จัก " The Roman Edible Snail " Helix pomatia Linnaeus, 1758 คนยุโรปนิยมบริโภคหอยทากชนิดนี้มาช้านาน ขนานนามว่า "Escargot" แม้ในปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในภัตตาคารชั้นสูง จนปริมาณไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ในเรื่องศรกามเทพ (cupid's arrow) นั้นเชื่อว่ามีที่มาจากพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของหอยทากชนิดนี้ ในสภาพธรรมชาติแล้วหอยทากนั้นเกิดมาเป็นเส้นทางให้เกิดวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่าเกิดขึ้นได้ เป็นอาหารให้กับสัตว์นานาชนิด นับตั้งแต่สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ ชะมด อีเห็น รวมทั้งลิง หอยทากเองก็บริโภคอาหารที่หลากหลาย ได้แก่ ใบไม้ สาหร่าย ไลเคนส์ รวมถึงเชื้อราที่อยู่ตามซากใบไม้ทับถม หอยทากแพร่พันธุ์เข้าไปอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยแทบทุกประเภท ทำให้บทบาทในระบบนิเวศใกล้เคียงกับแมลงทั้งหลาย เพียงแต่ว่าหอยทากเคลื่อนที่ช้า มีพื้นที่จำกัดกว่าแมลง

ดังนั้นในราว 8,000 กว่าปีที่ผ่านมา ในยุคน้ำทะเลขึ้นครั้งสุดท้าย จนถึงระดับปัจจุบัน ทำให้พื้นที่หลายแห่งบนพื้นดินกลายเป็นเกาะแก่งมากมาย รวมทั้งอ่าวไทยก็เปิดขึ้น เช่นเดียวกับทะเลอันดามัน เกาะเล็ก เกาะใหญ่หลายแห่งเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตบนเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่นับแต่นั้นมา พันธุกรรมก็ถูกตัดขาดเช่นกัน โดยเฉพาะหอยทากนั้นทะเลคือกำแพงกั้นการแพร่กระจาย ทำให้หอยทากอยู่ในสภาพถูกปล่อยเกาะอย่างสิ้นเชิง

การศึกษาในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เกาะต่างๆ ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ได้พบเรื่องราวที่เป็นข้อมูลให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ได้แก่ หอยมรกต Amphidromus classiarius พบประชากรเวียนซ้ายทั้งหมดบนเกาะตาชัย ทะเลอันดามัน หอยมรกตนี้มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงไปจาก หอยนกขมิ้น Amphidromus atricallosus ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ ด้วยปัจจัยจำกัดบนเกาะขนาดเล็กทำให้ลักษณะของเปลือกหอย ฟัน และอวัยวะภายใน มีความแตกต่างจากหอยนกขมิ้นเป็นหอยต่างชนิดในเวลาไม่กี่พันปี


เราควรช้าลงบ้างนะครับ...

ขอบพระคุณครับ
=ครูแหลม=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น